Print Warning ก่อนส่งงานไปพิมพ์ ควรทำสิ่งนี้

     เคยกันไหม เวลาส่งงานที่ออกแบบไปพิมพ์ ภาพที่ได้กลับมาดันสีเพี้ยน สีไม่ได้ใกล้เคียงกับงานที่เราทำเลย ในบทความนี้เรามีวิธีแก้ไข ให้งานที่พิมพ์นั้น มีสีที่ใกล้เคียงกับงานที่ออกแบบมากที่สุด



     ก่อนอื่นนั้นให้ตรวจสอบเครื่องพิมพ์ก่อนว่ามีโปรไฟล์สีในการพิมพ์แบบไหน ถ้าส่งไปพิมพ์ที่ร้านก็ให้ถามทางร้านเลย ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ส่วนตัว ก็ให้ดูในส่วนของการตั้งค่าการพิมพ์ว่ารองรับโปรไฟล์สีอะไร เช่น sRGB, Adobe RGB (1998), Coated FOGRA27 เป็นต้น

ตรวจสอบค่าสีในงานออกแบบ

     มีวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบหาค่าสีในงานออกแบบ เป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับนำงานออกไปพิมพ์ เพื่อป้องกันกรณีของการพิมพ์แล้วสีไม่ตรงกับงานที่ออกแบบมา มีวิธีการดูดังนี้




     ให้คลิกที่มุมล่างซ้ายตามลูกศรที่ชี้อยู่ในภาพ แล้วเลือกไปที่ Document Profile จะเป็นการแสดงค่าโปรไฟล์ของสีในงานที่ออกแบบอยู่ ในตัวอย่างนี้ค่าสีเป็นโหมด RGB โดยมีโปรไฟล์เป็น Adobe RGB (1998)

     จากตรงนี้เราจะมีข้อมูลของค่าสีจากเครื่องพิมพ์ แล้วก็ข้อมูลค่าสีจากงานที่เราออกแบบ ขั้นตอนต่อไปก็คือการ Proof Colors เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพที่จะออกมาก่อนการพิมพ์ว่าจะมีความผิดเพี้ยนมากขนาดไหน

Proof Colors กับการแก้ไขพิมพ์งานแล้วสีเพี้ยน

       สำหรับการออกแบบงานมาโดยใช้ค่าสีที่ตรงกับเครื่องพิมพ์แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาทำตามขั้นตอนตรงนี้ สามารถส่งงานออกไปพิมพ์ได้เลย 

     Proof Colors คือการตั้งค่าการแสดงผลของโปรแกรมให้แสดงผลใกล้เคียงกับค่าสีของเครื่องพิมพ์ เพื่อที่เราจะทำการแก้ไขปรับแต่งสี เพื่อป้องกันการพิมพ์ออกมาแล้วสีผิดเพี้ยนไป ในแต่ละโปรไฟล์สีนั้น จะแสดงค่าความกว้างของสีไม่เท่ากัน นั้นก็คือจำนวนสีที่สามารถแสดงบนหน้าจอหรือพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์จะมีจำนวนสีที่ไม่เท่ากันกันนั้นเอง ผู้เขียนจะขออ้างอิงจากโปรแกรม Photoshop ในการ Proof ค่าสีผ่านหน้าจอ


ขั้นตอนสำหรับการ Proof Colors มีดังต่อไปนี้

1. ให้ไปที่ View ใน Menu ด้านบน แล้วเลือก Proof Setup เลือกไปที่ Custom เพื่อกำหนดค่าสีในการ Proof ของเรา

2. จะขึ้นหน้าต่างสำหรับการเลือกค่าสีที่เราจะใช้ในการ Proof ให้เราเข้าไปเลือกในช่อง Device to Simulate

3. ในหน้าต่างนี้ จะมีค่าโปรไฟล์สีมากกมาย การเลือกตรงนี้ให้อิงจากเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ผู้เขียนจะทำการนำไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์สีที่มีโปรไฟล์สีเป็น CMYK โดยที่เครื่องพิมพ์นั้นใช้ค่าสี Coted FOGRA39 ในการพิมพ์ ผู้เขียนจึงได้ทำการเลือกค่าสีตัวนี้ในการ Proof งาน

     เมื่อทำตามขั้นตอนด้านบนแล้ว จะสังเกตุเห็นได้ว่า สีของงานที่ทำบนหน้าจอ มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าโปรไฟล์สีแต่ละค่านั้น จะให้ความกว้างของสีที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่สีไหนไม่สามารถแสดงออกมาได้ โปรแกรมจะทำการใช้สีที่ใกล้เคียงมาแทนที่ ทำให้สีที่ได้นั้นผิดเพี้ยนไปจากงานที่ออกแบบไว้

Gamut Warning แสดงในส่วนของสีที่เพี้ยน

     มาถึงในส่วนพระเอกของงานนี้ นั้นก็คือ Gamut Warning จะช่วยให้เรามองเห็นในส่วนที่สีไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ ทำให้เกิดการพิมพ์ที่ผิดเพี้ยนไปนั้นเอง ซึ่งเจ้าตัว Gamut Warning จะทำให้เรามองเห็นและสามารถแก้ไขตรงส่วนนั้นได้ก่อนที่จะเกิดปัญหา

     จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ภาพหมายเลข 1 คือภาพก่อนที่จะทำการเปิด Gamut Warning ส่วนภาพหมายเลข 2 นั้น คือภาพที่ทำการเปิด Gamut Warning จะมีสีเทาเกิดขึ้นมา (สีตรงนี้สามารถเปลี่ยนได้ด้วยการตั้งค่าใน Preferences > Transparency&Gamut > Gamut Warning Color ) ในส่วนของสีเทาที่เกิดขึ้นนี้ คือส่วนที่แสดงให้เห็นถึงสีที่ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้

เมื่อเกิดสีที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ให้ทำสิ่งนี้ต่อ

     ต่อไปนี้จะเป็นส่วนของการปรับสีสำหรับการส่งงานไปพิมพ์ ใช้การปรับสีเฉพาะส่วน โดยการใช้ Gamut Warning เข้ามาช่วยในการดูส่วนที่สีไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้


1. กดไอคอนที่ Layers ตามตัวอย่างด้านบน เพื่อเรียกใช้งาน Hue/Saturation ถ้าไม่มีหน้าต่าง Layers ให้ไปเลือกที่ Window ใน Menu ด้านบน แล้วเลือกไปที่ Layers

2. ในหน้าต่าง Hue/Saturation ให้คลิกที่รูปมือ แล้วนำไปดูดสีจากพื้นที่ที่เป็นสีเทา

3. ในช่องของสี จะบ่งบอกถึงค่าสีที่เราไปดูดมา ให้ทำการเลื่อนแถบ ตรง Saturation ไปทางซ้าย เพื่อลดความสดของสีลง

4. เมือลดความสดของสีลงจนทำให้สีเทาหายไป ( สีเทาคือตัวบ่งบอกถึงสีที่ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ ) ให้คลิกที่ Mask ตามตัวอย่าง แล้วกดคีย์บอร์ด Ctrl + I เป็นการ Invert Mask


5. เลือกเครื่องมือ Brush  แล้วนำมาระบายในส่วนที่เป็นสีเทา การระบายนั้น ให้ระบายบริเวณของสีที่เราดูดมาและได้ทำการลดความสดของสีลงแล้ว ให้ดูในส่วนของมุมล่างซ้าย ให้สีที่อยู่ด้านบนเป็นสีขาวเท่านั้นในการระบาย สังเกตว่าตอนนี้ยังคงทำงานอยู่บน Mask Layer

6. ให้ระบายจนสีเทาหายไป ถ้าระบายพลาดไปโดนส่วนอื่นแล้วต้องการแก้ไข ให้เลือกสีดำ แล้วระบายในส่วนที่ต้องการแก้ไข

7. ถ้ายังมีสีอื่นที่ยังติดสีเทาอยู่ ก็ให้ตาม ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นการดูดสีที่ยังไม่ได้แก้ไขแทน

มาถึงขั้นตอนปิดงาน

     ก่อนจะปิดงาน ถ้าอยากปรับสีเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ ถ้าปรับไปแล้ว เกิดมีสีที่หลุดอีก ก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ 1 เหมือนเดิม เมื่อปรับจนพอใจแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการปิดงาน


     ก่อนจะทำการบันทึกงาน ให้ทำการ Convert เพื่อให้งานที่บันทึกไปนั้นสามารถนำส่งไปพิมพ์ได้เลย เป็นการลดโอกาสที่งานจะมีสีผิดเพี้ยน โดยมี 3 ขั้นตอนสุดท้ายดังนี้

1. ปิดการ Proof ก่อน โดยไปที่ Menu เลือก View แล้วก็เอาเครื่องหมายถูกออกจาก Proof Colors กับ Gamut Warning

2. ไปที่ Edit เลื่อนลงไปเลือกตรง Convert to Profile จะมีหน้าต่างสำหรับเลือก Profile สีที่จะ Convert ก็ให้เลือกตามที่เราทำการ Proof มา

3. ทำการบันทึกไฟล์ โดยให้ติ๊กแนบ ICC Profile ไปด้วย ตามตัวอย่างที่แสดงไว้ด้านบน

     บทความนี้อ้างอิงการใช้งานมาจากโปรแกรม Photoshop สำหรับบางท่านที่ใช้โปรแกรมตัวอื่นในการทำงาน รูปแบบการ Proof งานจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ โดยจุดหลักๆ ก็คือการแก้ไขในส่วนของสีที่ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ ผู้เขียนหวังหว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อท่าน ไม่มากก็น้อย  









Comments